วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ลิงที่พบได้ในประเทศไทย

      ชนิดของลิงในประเทศไท


พันธุ์ลิงที่มีอยู่ในประเทศไทยของเรานะครับ 
(ไม่นับรวมชะนี ค่าง และลิงลม นะครับ ) มี 5 ชนิด ได้แก่



1. ลิงกัง 







ชื่อไทย           ลิงกัง
ชื่อวิทยาศาสตร์      Macaca nemestrina
ชั้น              Mammalia
อันดับ           Primates
วงศ์             Cercopithecidae

วงศ์ย่อย          Cercopithecinae
สกุล             Macaca 
ลิงกังนั้นเป็นลิงที่คนไทยเราคุ้นเคยกันมากครับ อย่างทางภาคใต้ของไทยเรานั้นนิยมเลี้ยงลิงกังเพื่อใช้ในการขึ้นมะพร้าวนะครับ เพราะว่าลิงกังนั้นเลี้ยงให้เชื่องง่าย งั้นเรามาทำความรู้จักลิงชนิดนี้กันเลยนะในธรรมชาติ ลิงกังมีอายุขัยประมาณ 26 ปี ในแหล่งเพาะเลี้ยงเคยพบลิงกังที่อยู่ได้ถึงเกือบ 35 ปี

·                ศัตรูตามธรรมชาติของลิงกัง
    คือเสือและงู แต่ศัตรูตัวร้ายที่สุดก็หนีไม่พ้นคน ลิงกังจำนวนมากถูกล่าเพื่อเอาเป็นอาหาร ทำยาจีน และเพื่อการแพทย์ ไอยูซีเอ็นประเมินสถานภาพไว้ว่าเสี่ยงสูญพันธุ์ ไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
·                ลักษณะของลิงกัง 
     ลิงกังมีขนสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลอมเทา บริเวณท้องสีขาว ขนบริเวณกระหม่อมสีดำหรือน้ำตาลเข้ม หางสั้นประมาณ 13-24 เซนติเมตรและมีขนสั้น ขายาว  ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมียราวสองเท่า 
ความยาวหัว-ลำตัวประมาณ 49-56 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 6.2-14.5 กิโลกรัม 
ส่วนตัวเมียความยาวหัว-ลำตัวประมาณ 46-56 หนักประมาณ 4.7-10.9 กิโลกรัม 
ตัวผู้จะมีเขี้ยวแหลมยาวประมาณ 12 มม. ส่วนตัวเมียก็มีเขี้ยวแต่สั้นกว่ามากเพียง 7.3 มม.

·                ลักษณะนิลัย

ลิงกังจัดเป็นลิงที่ค่อนข้างเงียบ ไม่ส่งเสียงมากนัก นอกจากเวลาต่อสู้กันเท่านั้น นอกจากการสื่อสารด้วยเสียงแล้ว ลิงกังยังมีภาษาท่าทางและสื่อสารผ่านสีหน้าได้ด้วย

·                ถิ่นที่อยู่อาศัย

     
ลิงกังอาศัยอยู่ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบในหลายประเทศ ตั้งแต่ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ทางใต้ของจีน อินโดนีเซีย (บอร์เนียว กาลิมันตัน สุมาตรา) ตะวันออกของบังกลาเทศ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย (แผ่นดินใหญ่) พบในพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนสูงถึง 2,000 เมตร อาศัยในป่าทึบ ส่วนใหญ่เป็นป่าฝนและป่าบึง

ลักษณะการอยู่อาศัยของลิงกัง
ฝูงลิงกังประกอบด้วยตัวผู้หลายตัวและตัวเมียหลายตัว สมาชิกตัวเมียเป็นกลุ่มครอบครัวเดียวกัน ฝูงหนึ่งมีสมาชิกประมาณ 15-40 ตัว เป็นตัวผู้ราว 5-6 ตัว แต่ละตัวเป็นตัวผู้ที่แยกออกมาจากฝูงที่ตัวเองเกิด เมื่อมีตัวผู้ตัวใหม่เข้ามาสู่ฝูง จะมีลำดับชั้นต่ำสุด หลังจากนั้นจึงค่อยต่อสู้เพื่อเลื่อนอันดับตัวเองให้สูงขึ้น ส่วนตัวเมียก็มีลำดับชั้นเช่นกัน ตัวเมียที่อันดับสูงสุดมักมีหลายตัวและเป็นพี่น้องกันที่รักใคร่ปรองดองกัน แม้กลุ่มตัวเมียจะมีอำนาจด้อยกว่าตัวผู้ แต่ก็รวมตัวกันเหนียวแน่นกว่าและอาจร่วมกัน   ต่อสู้กับตัวผู้ที่อันดับต่ำในการแย่งชิงอาหารได้


 ·    การหากิน
ลิงกังหากินเวลากลางวัน หากินบนพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ พื้นที่หากินกว้าง ตั้งแต่ 0.6-8.28 ตารางกิโลเมตร และมักย้ายพื้นที่หากินอยู่เสมอ เดินทางวันละประมาณ 800-3,000 เมตร พื้นที่ของแต่ละฝูงมักซ้อนเหลื่อมกัน แต่ลิงกังแต่ละฝูงก็ไม่ค่อยจะมีเรื่องวิวาทในเรื่องเขตแดนมากนัก
อาหารหลักคือผลไม้ นอกจากผลไม้ยังมีแมลง เมล็ดพืช ใบไม้ เห็ด นก ตัวอ่อนปลวก ปู เป็นต้น ขณะออกหากินจะแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ กลุ่มละ 2-6 ตัว บ่อยครั้งที่เข้ามาเก็บกินผลไม้ในสวนของเกษตรกร

·                การผสมพันธุ์

     
ลิงกังผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี แต่ส่วนใหญ่จะผสมพันธุ์ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม
 ตัวเมียมีคาบการติดสัดประมาณ 30-35 วัน ตั้งท้องนาน 162-182 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกลิงแรกเกิดมีสีดำ เมื่อพ้นสามเดือนสีขนจึงค่อยจางลงเป็นสีน้ำตาลอ่อน แม่ลิงจะเลี้ยงลูกเป็นเวลา 8-12 เดือน 
ตัวผู้เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 4.5 ปี ส่วนตัวเมียจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 3 ปี เมื่อตัวเมียติดสัด 
ต่อมแก้มก้นและอวัยวะเพศจะบวมแดงอย่างเห็นได้ชัดเจน และ ลิงกังเปลี่ยนคู่ได้หลายครั้งตลอดอายุขัย

·                อันตรายที่เกิดขึ้นกับลูกลิง

คือ ในช่วงที่ลูกอายุเกิน 5 สัปดาห์ไปแล้ว ลูกลิงจะเริ่มซุกซนและอยากรู้อยากสำรวจโลกรอบด้าน ซึ่งอาจทำให้ต้องห่างจากอกแม่ หากแม่ลิงเป็นลิงที่มีลำดับชั้นต่ำ 
ช่วงนี้ลูกลิงอาจถูกลิงที่มีอันดับสูงกว่าแย่งไปได้ และหากแม่ลิงแย่งกลับมาไม่ได้ ลูกลิงก็มักต้องอดตาย



2. ลิงเสน




ชื่อไทย                 ลิงเสน
ชื่อวิทยาศาสตร์   Macaca arctoides
อันดับ               Primates 
วงศ์                      Cercopithecidae

ลิงเสนนะครับเป็นลิงที่สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทยของเรานะครับ 

ในปัจจุบันสำหรับในประเทศไทยมีสถานะในธรรมชาติที่ลดลงเป็นจำนวนมาก จนเหลือเพียงไม่กี่ฝูงเท่านั้นเช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง,อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง,
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เป็นต้น 
มีสถานะทางกฎหมายเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์

·                ลักษณะของลิงเสน

    
บางครั้งเรียกว่า ลิงหมี เป็นลิงที่มีลำตัวยาว หลังสั้น ขนยาวสีน้ำตาล หน้ากลม หางสั้น ลูกอ่อนมีสีขาวและสีจะเข้ม เมื่อมีอายุมากขึ้น ใบหน้าเป็นสีชมพู หรือแดงเข้ม มีขนเล็กน้อย 
ลิงตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย มีน้ำหนัก 9.7-10.2 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียหนัก 7.5-9.1 กิโลกรัม ลิงเสนตัวผู้จะมีเขี้ยวยาวและอาศัยรวมกันเป็นกลุ่ม มีถุงเก็บอาหารใต้คาง หางสั้นมากจนดูเหมือนกับไม่มีหาง ก้นแดง และมีกลิ่นตัวที่เหม็นเขียว




·                ถิ่นอาศัย และอาหาร
    มีการแพร่กระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้าง 
โดยพบตั้งแต่ประเทศอินเดีย , พม่า , ไทย ,คาบสมุทรมลายูเกาะสุมาตรา , เกาะบอร์เนียว
เกาะลูซอน และเกาะมินดาเนา ของฟิลิปปินส์ ,ลาว, กัมพูชา 
และเวียดนาม ทำให้มีชนิดย่อยมากถึง 10 ชนิด 
มักพบอาศัยตามป่าริมลำน้ำและชายฝั่งทะเลทางภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ 
และป่าริมล้าน้้าทางภาคตะวันตก ทั้งป่าสมบูรณ์และป่ารุ่น นอกจากนี้ยังพบชุกชุมในป่าชายเลนและบนภูเขาหินปูนกินอาหารจ้าพวกผลไม้, เมล็ดพืช และแมลงขนาดเล็ก เวลากินอาหารมักชอบเก็บไว้ข้าง
แก้มแล้วค่อย ๆ เอามือดันอาหารที่เก็บไว้ออกมากินทีละน้อย


·                พฤติกรรม และการขยายพันธุ์

ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ หากินตอนกลางวัน เป็นลิงที่หากินตามพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ ชอบอยู่ป่าทึบมากกว่าป่าโปร่ง และพบทั้งป่าสูงและป่าต่ำ เวลาตกใจวิ่งจะขึ้นต้นไม้อย่างรวดเร็ว ลิงเสนเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3-4 ปี ระยะตั้งท้องนาน 146 วัน 
ออกลูกครั้งละ 1 ตัว และมีอายุยืนกว่า 20 ปี  




                 3.ลิงวอก





ชื่อไทย                 ลิงวอก
ชื่อสามัญ                Rhesus Macaque

ชื่อวิทยาศาสตร์    Macaca mulatta

อันดับ                  Primates

วงศ์                    Cercopithecidae


ลิงวอกในประเทศไทยของเรานั้นปัจจุบันนั้นมีเหลืออยู่น้อยมากนะครับ  ในปัจจุบันนั้นลิงวอกก็จัด
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

·                ลักษณะของลิงวอก
      เป็นลิงที่มีร่างกายอ้วนสั้น บริเวณหลัง หัวไหล่ และตะโพกมีสี
น้ำตาลปนเทา ส่วนบริเวณใต้ท้องและสีข้างมีสีอ่อนกว่า หางยาว
ประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว ขนหางค่อนข้างยาวและฟู 
มีการผลัดขนประมาณช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมของทุกปี โดย
จะเริ่มที่บริเวณปากก่อน หลังจากนั้นจึงจะเริ่มผลัดขนที่หลัง ตัวเมีย
อาจมีขนสีแดงในฤดูผสมพันธุ์ ขนที่หัวของลิงวอกจะชี้ตรงไปด้านหลัง ลิงตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย 
มีความยาวลำตัวและหัว 47-58.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 3-6 กิโลกรัม
ความยาวหาง 20.5-28 เซนติเมตร

·                พฤติกรรมและการสืบพันธุ์
    พฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ตั้งแต่ 50 ตัวขึ้นไป สมาชิกส่วนใหญ่ในฝูงประกอบไปด้วยลิงตัวเมียและลูก ๆ ตัวเมียในฝูงจะมีบาทบาทสำคัญมากกว่าตัวผู้ แต่ลิงตัวผู้จะมีบทบาทในการปกป้องฝูงลิงวอกเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3-4 ปี 
ระยะตั้งท้องนาน 5-7 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลิงตัวเมียจะอยู่กับฝูงไปจนตาย 
แต่ตัวผู้เมื่อโตขึ้น มักจะถูกขับไล่ให้ออกจากฝูง จากการศึกษาพบว่า ลิงวอกมีความสัมพันธ์กับชุมชนมนุษย์มาเป็นเวลานาน แต่การที่ลิงวอกมักเข้ามาอาศัยและใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกษตรกรรม 
จึงทำให้ไม่กลัวคน ในบางครั้งจึงถูกจับฆ่าเพื่อนำมาทำเป็นอาหารและฆ่าเพื่อลดความรำคาญ



·                ถิ่นที่อยู่อาศัย
มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ อัฟกานิสถาน, ภาคเหนือของอินเดียเนปาลพม่า, ภาคใต้ของจีนลาวเวียดนาม และภาคตะวันตกของไทย โดยในประเทศ ปัจจุบันเชื่อว่า เหลืออยู่เพียงฝูงสุดท้ายแล้วที่ วัดถ้ำผาหมากฮ่อ ในพื้นที่อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
·                อาหาร
ลิงวอกกินผัก ผลไม้ ใบไม้อ่อน แมลงต่างๆ รวมทั้งสัตว์เล็กๆ เป็นอาหาร




4. ลิงไอ้เงี้ย 



ชื่อวิทยาศาสตร์    Macaca assamensis 

สำหรับลิงชนิดนี้นะครับมีลักษระคล้ายกับลิงวอกมากนะครับเลยเรียกกันว่าลิงวอกภูเขานะครับ

   
ในปัจจุบันนะครับลิงไอเงี้ยนั้นยังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

·                ลักษณะทั่วไป
 ลักษณะคล้ายลิงวอกแต่ขนข้างใบหน้า เป็นลิงร่างใหญ่ บึกบึน หนักประมาณ 5-10 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 51-63 เซนติเมตร รูปร่างทั่วไปคล้ายลิงวอก ขนสีน้ำตาลอมเหลือง หน้าอก ท้อง ท้องแขนและขาสีขาว ก้นและหางสีเทา หัวโต ใบหน้ายื่นมากกว่าลิงขนสั้นชนิดอื่น ขนบริเวณด้านข้างใบหน้าชี้ไปทางข้างหลัง ขนกลางกระหม่อมแสกกลาง หางค่อนข้างสั้น ประมาณ 20-38 เซนติเมตร 

·                อุปนิสัยและอาหาร
     มักพบตามภูเขา และที่สูงตั้งแต่ 500 ถึง 3,500 เมตร อาศัยอยู่บนเรือนยอดไม้สูงประมาณ10 -50 เมตร จากพื้นดิน สมาชิกในฝูงมีประมาณ 10 - 50 ตัว โดยจะมีสมาชิกบางตัวทำหน้าที่เฝ้ายามบนต้นไม้สูงที่สุดในบริเวณ เมื่อมีอันตรายจะส่งเสียงร้องเตือนพร้อมกับเคลื่อนไหวเพื่อเตรียม
หลบหนี ร้องเสียงดัง "ปิ้ว" หากินตอนกลางวัน อาศัยกันเป็นฝูง ฝูงหนึ่งมีตัวผู้และตัวเมียเพศละหลายตัว รวมกันอาจมากถึง 50 ตัว ชอบหากินบนต้นไม้ และมักอยู่ที่ระดับความสูงเกิน 10 เมตร ซึ่งสูงกว่าระดับหากินของลิงกังและลิงแสม กินผลไม้ ใบไม้ โดยเฉพาะใบอ่อน และสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร



 ·                ถิ่นที่อยู่อาศัย
     พบในเนปาล สิกขิม ภูฐาน อัสสัม ยูนาน พม่า และอินโดจีนตอนเหนือ สำหรับในประเทศไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบมากที่จังหวัดลำปาง 

·                พฤติกรรม - การขยายพันธุ์
เป็นลิงที่มีนิสัยดุร้าย กระดิกหางได้เหมือนสุนัข ชอบอาศัยอยู่บนภูเขา ลิงวอกภูเขาเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3-4 ปี ระยะตั้งท้องนาน 5-6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว  




5.ลิงแสม



ชื่อไทย             ลิงแสม
ชื่อสามัญ          Crab-eating macaque
ชื่อวิทศาสตร์   Macaca fascicularis Raffles, 1821


ลิงแสมนะครับส่วนใหญ่นั้นจะพบบริเวณป่าชายเลนะครับ แต่ที่คนไทยเราคุ้นเคยกับลิงชนิดนี้ก็คงไม่พ้นที่นี้แน่นอนครับ นั้นก็คือ  ศาลพระกาฬ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี และ ลิงแสมเป็นสัตว์ที่ฝึกได้และสามารถเรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็ว ถ้านำมาฝึกตั้งแต่ยังเล็ก


·                ลักษณะ
     ลิงแสมมีหางยาวใกล้เคียงกับความยาวจากหัวถึงลำตัว ขนมี 2 สี คือ สีเทาน้ำตาลและสีแดง 
โดยสีขนจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ ฤดูกาล และถิ่นที่อยู่อาศัย ลิงแสมในป่าจะมีสีเข้มกว่าลิงแสมที่อยู่บริเวณป่าชายเลย ซึ่งมีเกลือในอากาศและสัมผัสกับแสงแดดมากกว่า ลิงชนิดนี้มีหางกลม ขนบริเวณหัวสั้นตั้งชี้ไปด้านหลัง ลิงอายุน้อยหัวจะมีขนเป็นหงอน และจะยืดยาวออกเมื่อมีอายุมากขึ้น           

·                ถิ่นที่อยู่อาศัย
ประเทศไทย อินโดนีเซีย พม่า มลายู เกาะสุมาตรา เกาะซูลอน และเกาะมินดาเนา ของฟิลิปปินส์ บอร์เนียว ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

·                นิเวศวิทยาและพฤติกรรม
เป็นลิงอีกชนิดหนึ่งที่พบได้แทบทุกภูมิประเทศ ทั้งในป่าชายเลนใกล้ทะเล โดยลิงฝูงที่อาศัยในที่นี่จะว่ายน้ำและดำน้ำเก่ง เคยมีรายงานว่าสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 50 เมตร  บางครั้งก็พบอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นและพื้นที่สูงประมาณ 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล หรือพื้นที่เกษตรกรรมด้วยซึ่งมันมักจะทำลายผลิตผลทางการเกษตร ลิงแสมพยายามจะปรับตัวให้สามารถอยู่ในพื้นที่บริเวณขอบนอกขอป่า 
มากกว่าอยู่ในป่าลึก และสามารถปรับตัวในเข้ากับมนุษย์ได้ในบางโอกาส 
ดั่งที่มักพบเห็นทั่วไปตามเมืองใหญ่ อาทิ ศาลพรกาฬ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี 
หรือ ศาลเจ้าแม่เขาสามมุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นต้น ซึ่งมักจะอยู่เป็นฝูงใหญ่ 
อาจมีสมาชิกในฝูงได้ถึง 200 ตัว โตเต็มที่เมื่อมีอายุได้ราว 3-4 ปี ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกที่มีอายุน้อยจะเกาะติดแม่เสมอ