วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การผสมพันธุ์ของลิง



                         WTF !!

ข่าว ลิงอุรังอุตัง



ลูกอุรังอุตังกำพร้าแม่ตรอมใจไม่กินข้าวกินน้ำ นาทีที่ 5.49
กระแสโซเชียลตอนนี้ กำลังเอาใจช่วย ลูกอุรังอุตัง ที่เกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย ที่ตรอมใจ ไม่ยอมกินข้าวกินน้ำ เพราะกำพร้าแม่
ลูกลิงอุรังอุตังตัวนี้มีชื่อว่า “ยูดิน (Udin)” ต้องกลายเป็นกำพร้า หลังจากที่แม่ของมันยอมสละชีวิตปกป้องลูกจนตาย ในรายงานข่าวบอกว่า แม่ของยูดินอาจถูกแทง หรือไม่ก็ถูกยิงตาย หลังจากนั้นยูดินก็ มีหน้าตาเศร้าหมอง ไม่ยอมกินข้าว กินน้ำ
ยูดินถูกนำไปขายต่อให้กับชาวนาคนหนึ่ง ซึ่งเลี้ยงไว้มันในกรงขนาดเล็ก จนเจ้าหน้าที่จากหน่วยช่วยเหลือสัตว์นานาชาติ หรือ IAR เข้าไปช่วยเหลือและนำตัวส่งไปรักษาต่อที่ศูนย์ช่วยเหลืออุรังอุตังบนเกาะบอร์เนียว
ในระหว่างการรักษาเจ้ายูดินก็ยังไม่ยอมกินอาหาร และไม่สนใจสิ่งรอบข้าง สัตวแพทย์กังวลว่า มันอาจจะพยายามฆ่าตัวตาย ซึ่งต้องเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด และคอยปลอบใจเหมือนเป็นแม่อุรังอุตัง และให้ตุ๊กตาหมีมาเป็นเพื่อน 1 ตัว จนในที่สุดยูดินกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งแววตาเริ่มมีประกายสดใส

นิทาน

ฝูงลิงกับงานรดน้ำต้นไม้




                                     
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ เมืองพาราณสี มีการจัดงานเฉลิมฉลองประจำปี ชาวบ้านชาวเมืองต่างพากันไปเที่ยวชมงานนี้กันอย่างสนุกสนาน โดยคนเฝ้าพระราชาก็อยากไปงานนี้เช่นกัน แต่ติดอยู่ที่ว่าเขามีหน้าที่รดน้ำต้นไม้ทั้งอุทยานซึ่งต้องใช้เวลานานมาก
คนเฝ้าอุทยานเกรงว่าจะไม่มีเวลาเที่ยวมากนัก จึงไปหาลิงจ่าฝูงที่พาบริวารมาหากินอยู่ในอุทยานแห่งนี้ว่า เจ้าลิงเอ๋ย เจ้าและฝูงของเจ้าได้อาศัยดอกผลจากต้นไม้ที่ข้าคอยดูแลในอุทยานแห่งนี้ประทังชีวิตจนอิ่มหนำมานานแล้ว ตอนนี้ในเมืองมีงานรื่นเริง ข้าเองก็อยากจะไปเที่ยวงานนั้นบ้าง หากข้าจะขอฝากเจ้าและฝูงบริวารของเจ้าให้ช่วยรดน้ำต้นไม้ในอุทยานแห่งนี้แทนข้าในขณะที่ข้าไม่อยู่บ้างจะได้หรือไม่” ลิงจ่าฝูงรับคำอย่างหนักแน่นว่า ได้สิ ข้าจะให้บริวารรดน้ำต้นไม้ในอุทยานแห่งนี้แทนท่านเอง

ทันทีที่คนเฝ้าอุทยานไปแล้ว ลิงจ่าฝูงและบริวารจึงรีบพากันรดน้ำต้นไม้ แต่ลิงจ่าฝูงเห็นว่าต้นไม้ในอุทยานแห่งนี้มีมากและน้ำก็เป็นสิ่งหายากสำหรับพวกลิง พวกมันกลัวว่าน้ำจะหมดแล้วจะไม่มีกินจึงแนะนำให้เหล่าบริวารลิงถอนต้นไม้ขึ้นมาดูก่อนว่ารากของต้นไม้แต่ละต้นนั้นยาวแค่ไหน แล้วจึงรดน้ำตามความยาวของรากแต่ละต้น แล้วเหล่าลิงก็พากันถอนต้นไม้ในอุทยานแห่งนี้เป็นการใหญ่

ลิงที่พบได้ในประเทศไทย

      ชนิดของลิงในประเทศไท


พันธุ์ลิงที่มีอยู่ในประเทศไทยของเรานะครับ 
(ไม่นับรวมชะนี ค่าง และลิงลม นะครับ ) มี 5 ชนิด ได้แก่



1. ลิงกัง 







ชื่อไทย           ลิงกัง
ชื่อวิทยาศาสตร์      Macaca nemestrina
ชั้น              Mammalia
อันดับ           Primates
วงศ์             Cercopithecidae

วงศ์ย่อย          Cercopithecinae
สกุล             Macaca 
ลิงกังนั้นเป็นลิงที่คนไทยเราคุ้นเคยกันมากครับ อย่างทางภาคใต้ของไทยเรานั้นนิยมเลี้ยงลิงกังเพื่อใช้ในการขึ้นมะพร้าวนะครับ เพราะว่าลิงกังนั้นเลี้ยงให้เชื่องง่าย งั้นเรามาทำความรู้จักลิงชนิดนี้กันเลยนะในธรรมชาติ ลิงกังมีอายุขัยประมาณ 26 ปี ในแหล่งเพาะเลี้ยงเคยพบลิงกังที่อยู่ได้ถึงเกือบ 35 ปี

·                ศัตรูตามธรรมชาติของลิงกัง
    คือเสือและงู แต่ศัตรูตัวร้ายที่สุดก็หนีไม่พ้นคน ลิงกังจำนวนมากถูกล่าเพื่อเอาเป็นอาหาร ทำยาจีน และเพื่อการแพทย์ ไอยูซีเอ็นประเมินสถานภาพไว้ว่าเสี่ยงสูญพันธุ์ ไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
·                ลักษณะของลิงกัง 
     ลิงกังมีขนสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลอมเทา บริเวณท้องสีขาว ขนบริเวณกระหม่อมสีดำหรือน้ำตาลเข้ม หางสั้นประมาณ 13-24 เซนติเมตรและมีขนสั้น ขายาว  ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมียราวสองเท่า 
ความยาวหัว-ลำตัวประมาณ 49-56 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 6.2-14.5 กิโลกรัม 
ส่วนตัวเมียความยาวหัว-ลำตัวประมาณ 46-56 หนักประมาณ 4.7-10.9 กิโลกรัม 
ตัวผู้จะมีเขี้ยวแหลมยาวประมาณ 12 มม. ส่วนตัวเมียก็มีเขี้ยวแต่สั้นกว่ามากเพียง 7.3 มม.

·                ลักษณะนิลัย

ลิงกังจัดเป็นลิงที่ค่อนข้างเงียบ ไม่ส่งเสียงมากนัก นอกจากเวลาต่อสู้กันเท่านั้น นอกจากการสื่อสารด้วยเสียงแล้ว ลิงกังยังมีภาษาท่าทางและสื่อสารผ่านสีหน้าได้ด้วย

·                ถิ่นที่อยู่อาศัย

     
ลิงกังอาศัยอยู่ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบในหลายประเทศ ตั้งแต่ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ทางใต้ของจีน อินโดนีเซีย (บอร์เนียว กาลิมันตัน สุมาตรา) ตะวันออกของบังกลาเทศ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย (แผ่นดินใหญ่) พบในพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนสูงถึง 2,000 เมตร อาศัยในป่าทึบ ส่วนใหญ่เป็นป่าฝนและป่าบึง

ลักษณะการอยู่อาศัยของลิงกัง
ฝูงลิงกังประกอบด้วยตัวผู้หลายตัวและตัวเมียหลายตัว สมาชิกตัวเมียเป็นกลุ่มครอบครัวเดียวกัน ฝูงหนึ่งมีสมาชิกประมาณ 15-40 ตัว เป็นตัวผู้ราว 5-6 ตัว แต่ละตัวเป็นตัวผู้ที่แยกออกมาจากฝูงที่ตัวเองเกิด เมื่อมีตัวผู้ตัวใหม่เข้ามาสู่ฝูง จะมีลำดับชั้นต่ำสุด หลังจากนั้นจึงค่อยต่อสู้เพื่อเลื่อนอันดับตัวเองให้สูงขึ้น ส่วนตัวเมียก็มีลำดับชั้นเช่นกัน ตัวเมียที่อันดับสูงสุดมักมีหลายตัวและเป็นพี่น้องกันที่รักใคร่ปรองดองกัน แม้กลุ่มตัวเมียจะมีอำนาจด้อยกว่าตัวผู้ แต่ก็รวมตัวกันเหนียวแน่นกว่าและอาจร่วมกัน   ต่อสู้กับตัวผู้ที่อันดับต่ำในการแย่งชิงอาหารได้


 ·    การหากิน
ลิงกังหากินเวลากลางวัน หากินบนพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ พื้นที่หากินกว้าง ตั้งแต่ 0.6-8.28 ตารางกิโลเมตร และมักย้ายพื้นที่หากินอยู่เสมอ เดินทางวันละประมาณ 800-3,000 เมตร พื้นที่ของแต่ละฝูงมักซ้อนเหลื่อมกัน แต่ลิงกังแต่ละฝูงก็ไม่ค่อยจะมีเรื่องวิวาทในเรื่องเขตแดนมากนัก
อาหารหลักคือผลไม้ นอกจากผลไม้ยังมีแมลง เมล็ดพืช ใบไม้ เห็ด นก ตัวอ่อนปลวก ปู เป็นต้น ขณะออกหากินจะแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ กลุ่มละ 2-6 ตัว บ่อยครั้งที่เข้ามาเก็บกินผลไม้ในสวนของเกษตรกร

·                การผสมพันธุ์

     
ลิงกังผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี แต่ส่วนใหญ่จะผสมพันธุ์ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม
 ตัวเมียมีคาบการติดสัดประมาณ 30-35 วัน ตั้งท้องนาน 162-182 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกลิงแรกเกิดมีสีดำ เมื่อพ้นสามเดือนสีขนจึงค่อยจางลงเป็นสีน้ำตาลอ่อน แม่ลิงจะเลี้ยงลูกเป็นเวลา 8-12 เดือน 
ตัวผู้เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 4.5 ปี ส่วนตัวเมียจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 3 ปี เมื่อตัวเมียติดสัด 
ต่อมแก้มก้นและอวัยวะเพศจะบวมแดงอย่างเห็นได้ชัดเจน และ ลิงกังเปลี่ยนคู่ได้หลายครั้งตลอดอายุขัย

·                อันตรายที่เกิดขึ้นกับลูกลิง

คือ ในช่วงที่ลูกอายุเกิน 5 สัปดาห์ไปแล้ว ลูกลิงจะเริ่มซุกซนและอยากรู้อยากสำรวจโลกรอบด้าน ซึ่งอาจทำให้ต้องห่างจากอกแม่ หากแม่ลิงเป็นลิงที่มีลำดับชั้นต่ำ 
ช่วงนี้ลูกลิงอาจถูกลิงที่มีอันดับสูงกว่าแย่งไปได้ และหากแม่ลิงแย่งกลับมาไม่ได้ ลูกลิงก็มักต้องอดตาย



2. ลิงเสน




ชื่อไทย                 ลิงเสน
ชื่อวิทยาศาสตร์   Macaca arctoides
อันดับ               Primates 
วงศ์                      Cercopithecidae

ลิงเสนนะครับเป็นลิงที่สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทยของเรานะครับ 

ในปัจจุบันสำหรับในประเทศไทยมีสถานะในธรรมชาติที่ลดลงเป็นจำนวนมาก จนเหลือเพียงไม่กี่ฝูงเท่านั้นเช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง,อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง,
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เป็นต้น 
มีสถานะทางกฎหมายเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์

·                ลักษณะของลิงเสน

    
บางครั้งเรียกว่า ลิงหมี เป็นลิงที่มีลำตัวยาว หลังสั้น ขนยาวสีน้ำตาล หน้ากลม หางสั้น ลูกอ่อนมีสีขาวและสีจะเข้ม เมื่อมีอายุมากขึ้น ใบหน้าเป็นสีชมพู หรือแดงเข้ม มีขนเล็กน้อย 
ลิงตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย มีน้ำหนัก 9.7-10.2 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียหนัก 7.5-9.1 กิโลกรัม ลิงเสนตัวผู้จะมีเขี้ยวยาวและอาศัยรวมกันเป็นกลุ่ม มีถุงเก็บอาหารใต้คาง หางสั้นมากจนดูเหมือนกับไม่มีหาง ก้นแดง และมีกลิ่นตัวที่เหม็นเขียว




·                ถิ่นอาศัย และอาหาร
    มีการแพร่กระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้าง 
โดยพบตั้งแต่ประเทศอินเดีย , พม่า , ไทย ,คาบสมุทรมลายูเกาะสุมาตรา , เกาะบอร์เนียว
เกาะลูซอน และเกาะมินดาเนา ของฟิลิปปินส์ ,ลาว, กัมพูชา 
และเวียดนาม ทำให้มีชนิดย่อยมากถึง 10 ชนิด 
มักพบอาศัยตามป่าริมลำน้ำและชายฝั่งทะเลทางภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ 
และป่าริมล้าน้้าทางภาคตะวันตก ทั้งป่าสมบูรณ์และป่ารุ่น นอกจากนี้ยังพบชุกชุมในป่าชายเลนและบนภูเขาหินปูนกินอาหารจ้าพวกผลไม้, เมล็ดพืช และแมลงขนาดเล็ก เวลากินอาหารมักชอบเก็บไว้ข้าง
แก้มแล้วค่อย ๆ เอามือดันอาหารที่เก็บไว้ออกมากินทีละน้อย


·                พฤติกรรม และการขยายพันธุ์

ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ หากินตอนกลางวัน เป็นลิงที่หากินตามพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ ชอบอยู่ป่าทึบมากกว่าป่าโปร่ง และพบทั้งป่าสูงและป่าต่ำ เวลาตกใจวิ่งจะขึ้นต้นไม้อย่างรวดเร็ว ลิงเสนเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3-4 ปี ระยะตั้งท้องนาน 146 วัน 
ออกลูกครั้งละ 1 ตัว และมีอายุยืนกว่า 20 ปี  




                 3.ลิงวอก





ชื่อไทย                 ลิงวอก
ชื่อสามัญ                Rhesus Macaque

ชื่อวิทยาศาสตร์    Macaca mulatta

อันดับ                  Primates

วงศ์                    Cercopithecidae


ลิงวอกในประเทศไทยของเรานั้นปัจจุบันนั้นมีเหลืออยู่น้อยมากนะครับ  ในปัจจุบันนั้นลิงวอกก็จัด
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

·                ลักษณะของลิงวอก
      เป็นลิงที่มีร่างกายอ้วนสั้น บริเวณหลัง หัวไหล่ และตะโพกมีสี
น้ำตาลปนเทา ส่วนบริเวณใต้ท้องและสีข้างมีสีอ่อนกว่า หางยาว
ประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว ขนหางค่อนข้างยาวและฟู 
มีการผลัดขนประมาณช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมของทุกปี โดย
จะเริ่มที่บริเวณปากก่อน หลังจากนั้นจึงจะเริ่มผลัดขนที่หลัง ตัวเมีย
อาจมีขนสีแดงในฤดูผสมพันธุ์ ขนที่หัวของลิงวอกจะชี้ตรงไปด้านหลัง ลิงตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย 
มีความยาวลำตัวและหัว 47-58.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 3-6 กิโลกรัม
ความยาวหาง 20.5-28 เซนติเมตร

·                พฤติกรรมและการสืบพันธุ์
    พฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ตั้งแต่ 50 ตัวขึ้นไป สมาชิกส่วนใหญ่ในฝูงประกอบไปด้วยลิงตัวเมียและลูก ๆ ตัวเมียในฝูงจะมีบาทบาทสำคัญมากกว่าตัวผู้ แต่ลิงตัวผู้จะมีบทบาทในการปกป้องฝูงลิงวอกเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3-4 ปี 
ระยะตั้งท้องนาน 5-7 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลิงตัวเมียจะอยู่กับฝูงไปจนตาย 
แต่ตัวผู้เมื่อโตขึ้น มักจะถูกขับไล่ให้ออกจากฝูง จากการศึกษาพบว่า ลิงวอกมีความสัมพันธ์กับชุมชนมนุษย์มาเป็นเวลานาน แต่การที่ลิงวอกมักเข้ามาอาศัยและใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกษตรกรรม 
จึงทำให้ไม่กลัวคน ในบางครั้งจึงถูกจับฆ่าเพื่อนำมาทำเป็นอาหารและฆ่าเพื่อลดความรำคาญ



·                ถิ่นที่อยู่อาศัย
มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ อัฟกานิสถาน, ภาคเหนือของอินเดียเนปาลพม่า, ภาคใต้ของจีนลาวเวียดนาม และภาคตะวันตกของไทย โดยในประเทศ ปัจจุบันเชื่อว่า เหลืออยู่เพียงฝูงสุดท้ายแล้วที่ วัดถ้ำผาหมากฮ่อ ในพื้นที่อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
·                อาหาร
ลิงวอกกินผัก ผลไม้ ใบไม้อ่อน แมลงต่างๆ รวมทั้งสัตว์เล็กๆ เป็นอาหาร




4. ลิงไอ้เงี้ย 



ชื่อวิทยาศาสตร์    Macaca assamensis 

สำหรับลิงชนิดนี้นะครับมีลักษระคล้ายกับลิงวอกมากนะครับเลยเรียกกันว่าลิงวอกภูเขานะครับ

   
ในปัจจุบันนะครับลิงไอเงี้ยนั้นยังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

·                ลักษณะทั่วไป
 ลักษณะคล้ายลิงวอกแต่ขนข้างใบหน้า เป็นลิงร่างใหญ่ บึกบึน หนักประมาณ 5-10 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 51-63 เซนติเมตร รูปร่างทั่วไปคล้ายลิงวอก ขนสีน้ำตาลอมเหลือง หน้าอก ท้อง ท้องแขนและขาสีขาว ก้นและหางสีเทา หัวโต ใบหน้ายื่นมากกว่าลิงขนสั้นชนิดอื่น ขนบริเวณด้านข้างใบหน้าชี้ไปทางข้างหลัง ขนกลางกระหม่อมแสกกลาง หางค่อนข้างสั้น ประมาณ 20-38 เซนติเมตร 

·                อุปนิสัยและอาหาร
     มักพบตามภูเขา และที่สูงตั้งแต่ 500 ถึง 3,500 เมตร อาศัยอยู่บนเรือนยอดไม้สูงประมาณ10 -50 เมตร จากพื้นดิน สมาชิกในฝูงมีประมาณ 10 - 50 ตัว โดยจะมีสมาชิกบางตัวทำหน้าที่เฝ้ายามบนต้นไม้สูงที่สุดในบริเวณ เมื่อมีอันตรายจะส่งเสียงร้องเตือนพร้อมกับเคลื่อนไหวเพื่อเตรียม
หลบหนี ร้องเสียงดัง "ปิ้ว" หากินตอนกลางวัน อาศัยกันเป็นฝูง ฝูงหนึ่งมีตัวผู้และตัวเมียเพศละหลายตัว รวมกันอาจมากถึง 50 ตัว ชอบหากินบนต้นไม้ และมักอยู่ที่ระดับความสูงเกิน 10 เมตร ซึ่งสูงกว่าระดับหากินของลิงกังและลิงแสม กินผลไม้ ใบไม้ โดยเฉพาะใบอ่อน และสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร



 ·                ถิ่นที่อยู่อาศัย
     พบในเนปาล สิกขิม ภูฐาน อัสสัม ยูนาน พม่า และอินโดจีนตอนเหนือ สำหรับในประเทศไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบมากที่จังหวัดลำปาง 

·                พฤติกรรม - การขยายพันธุ์
เป็นลิงที่มีนิสัยดุร้าย กระดิกหางได้เหมือนสุนัข ชอบอาศัยอยู่บนภูเขา ลิงวอกภูเขาเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3-4 ปี ระยะตั้งท้องนาน 5-6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว  




5.ลิงแสม



ชื่อไทย             ลิงแสม
ชื่อสามัญ          Crab-eating macaque
ชื่อวิทศาสตร์   Macaca fascicularis Raffles, 1821


ลิงแสมนะครับส่วนใหญ่นั้นจะพบบริเวณป่าชายเลนะครับ แต่ที่คนไทยเราคุ้นเคยกับลิงชนิดนี้ก็คงไม่พ้นที่นี้แน่นอนครับ นั้นก็คือ  ศาลพระกาฬ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี และ ลิงแสมเป็นสัตว์ที่ฝึกได้และสามารถเรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็ว ถ้านำมาฝึกตั้งแต่ยังเล็ก


·                ลักษณะ
     ลิงแสมมีหางยาวใกล้เคียงกับความยาวจากหัวถึงลำตัว ขนมี 2 สี คือ สีเทาน้ำตาลและสีแดง 
โดยสีขนจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ ฤดูกาล และถิ่นที่อยู่อาศัย ลิงแสมในป่าจะมีสีเข้มกว่าลิงแสมที่อยู่บริเวณป่าชายเลย ซึ่งมีเกลือในอากาศและสัมผัสกับแสงแดดมากกว่า ลิงชนิดนี้มีหางกลม ขนบริเวณหัวสั้นตั้งชี้ไปด้านหลัง ลิงอายุน้อยหัวจะมีขนเป็นหงอน และจะยืดยาวออกเมื่อมีอายุมากขึ้น           

·                ถิ่นที่อยู่อาศัย
ประเทศไทย อินโดนีเซีย พม่า มลายู เกาะสุมาตรา เกาะซูลอน และเกาะมินดาเนา ของฟิลิปปินส์ บอร์เนียว ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

·                นิเวศวิทยาและพฤติกรรม
เป็นลิงอีกชนิดหนึ่งที่พบได้แทบทุกภูมิประเทศ ทั้งในป่าชายเลนใกล้ทะเล โดยลิงฝูงที่อาศัยในที่นี่จะว่ายน้ำและดำน้ำเก่ง เคยมีรายงานว่าสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 50 เมตร  บางครั้งก็พบอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นและพื้นที่สูงประมาณ 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล หรือพื้นที่เกษตรกรรมด้วยซึ่งมันมักจะทำลายผลิตผลทางการเกษตร ลิงแสมพยายามจะปรับตัวให้สามารถอยู่ในพื้นที่บริเวณขอบนอกขอป่า 
มากกว่าอยู่ในป่าลึก และสามารถปรับตัวในเข้ากับมนุษย์ได้ในบางโอกาส 
ดั่งที่มักพบเห็นทั่วไปตามเมืองใหญ่ อาทิ ศาลพรกาฬ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี 
หรือ ศาลเจ้าแม่เขาสามมุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นต้น ซึ่งมักจะอยู่เป็นฝูงใหญ่ 
อาจมีสมาชิกในฝูงได้ถึง 200 ตัว โตเต็มที่เมื่อมีอายุได้ราว 3-4 ปี ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกที่มีอายุน้อยจะเกาะติดแม่เสมอ